หลักการเติม ed สำหรับ Regular Verbs

หลักการเติม ed สำหรับ Regular Verbs


หลักการง่ายๆ ในการเติม ed หลังคำกริยา Regular Verbs ดังนี้

1. กริยาที่ลงท้าย ด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม ed ยกตัวอย่างเช่น

cry – cried = ร้องไห้

marry – married = แต่งงาน

try – tried = พยายาม



2 กริยาที่ลงท้าย ด้วย y แต่หน้า y เป็นสระ (a/e/i/o/u) ใหเติม ed ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น

enjoy – enjoyed = สนุก

play – played = เล่น

stay – stayed = พัก , อาศัย



3 กริยาที่ลงท้ายด้วย e ให้เติม d ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น

hope – hoped = หวัง

love – loved = รัก

move – move = เคลื่อน



4. กริยาที่มีพยางค์เดียว มีสระ(a/e/i/o/u)ตัวเดียว และลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดตัวเดียวให้เพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายอีก 1 ตัว แล้วเติม ed ยกตัวอย่างเช่น

plan – planned = วางแผน

stop – stopped = หยุด

beg – begged = ขอร้อง



5. กริยาที่มี 2 พยางค์ แต่ลงเสียงหนักพยางค์หลัง และพยางค์หลังนั้น มีสระ(a/e/i/o/u)ตัวเดียว และลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดตัวเดียว ให้เพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายอีก 1 ตัว แล้วเติม ed ยกตัวอย่างเช่น

concur – concurred = ตกลง, เห็นด้วย

occur – occurred = เกิดขึ้น

refer – referred = อ้างถึง

permit – permitted = อนุญาต


ข้อยกเว้น ถ้าออกเสียงหนักที่พยางค์แรก ไม่ต้องเติมพยัญชนะตัวสุดท้ายเข้ามา ยกตัวอย่างเช่น

cover – covered = ปกคลุม

open – opened = เปิด


6. นอกจากกฏที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อต้องการให้เป็นช่อง 2 ให้เติม ed ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น

talk – talked = พูด

start – started = เริ่ม

worked – worked = ทำงาน

3 ความคิดเห็น: